เชียงใหม่จัดกิจกรรม “สร้างความมั่นใจ เจียงใหม่น่าแอ่ว”

เชียงใหม่จัดกิจกรรม “สร้างความมั่นใจ เจียงใหม่น่าแอ่ว”
เชียงใหม่จัดกิจกรรม “สร้างความมั่นใจ เจียงใหม่น่าแอ่ว”
เพื่อยุติปัญหาปัญหาเอดส์ กำจัดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น
ดร.ทรงยศ คำชัย หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะเลขาคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึง นโยบายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานยุติปัญหา
วัณโรค โรคเอดส์จังหวัดเชียงใหม่ ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการยุติวัณโรค และยุทธศาสตร์แห่งชาติ ว่าด้วยการยุติปัญหาปัญหาเอดส์ และกำจัดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยมีมาตรการและเป้าหมาย คือ การคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยวัณโรค ตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ลดการเสียชีวิตจากวัณโรค เอชไอวี/เอดส์
ลดการตีตรา และเลือกปฏิบัติ และเป้าหมายการกำจัดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคไวรัสตับอักเสบบี
และซี จากข้อมูลสถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพิ่มขึ้น
จาก 155 ราย ในปี 2564 เป็น 341 รายในปี 2565 ส่วนผู้ป่วยวัณโรค ในปี 2565 สูงขึ้นกว่าปีก่อนๆ ประมาณ ร้อยละ 2 และยังพบผู้ป่วยวัณโรคแฝงอีกด้วย
วันนี้ (24 กุมภาพันธ์ 2566) จังหวัดชียงใหม่ จึงได้จัดกิจกรรม “สร้างความมั่นใจ เจียงใหม่น่าแอ่ว” ซึ่งเป็นกิจกรรมบูรณาการ ตรวจคัดกรองโรคติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ วัณโรค โรคเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไวรัสตับอักเสบบี และซี โรคเรื้อน ทั้งนี้ยังมีกิจกรรมการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นให้กับประชาชนทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหา คัดกรองวัณโรคและวัณโรคระยะแฝง และเพื่อเฝ้าระวัง
คัดกรอง ตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี
และโรคผิวหนังเรื้อรัง ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการนักท่องเที่ยว ประชากรกลุ่มเสี่ยง อีกทั้งการรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นให้กับสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยว เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว สำหรับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการนักท่องเที่ยว(ปางช้าง) และ
กลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน 300 คน ณ ลานหน้าวัดแม่ตะมาน ตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก นายชัยณรงค์ นันตาสาย นายอำเภอแม่แตง เป็นประธานการเปิดงาน และนางพัทธวรรณ ลาน้อย สาธารณสุขอำเภอแม่แตง กล่าวรายงาน
ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
คปสอ.แม่แตง องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตะมาน ผู้ประกอบการปางช้างในอำเภอแม่แตง มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ มูลนิธิรักษ์ไทย และมูลนิธิเอ็มพลัส เชียงใหม่
แชร์เลย :