เมื่อพบเห็นความรุนแรงในครอบครัว เรามักได้ยินคำพูดที่ว่า “เรื่องของผัวเมียอย่ายุ่ง!”

เมื่อพบเห็นความรุนแรงในครอบครัว เรามักได้ยินคำพูดที่ว่า “เรื่องของผัวเมียอย่ายุ่ง!”

เมื่อพบเห็นความรุนแรงในครอบครัว เรามักได้ยินคำพูดที่ว่า “เรื่องของผัวเมียอย่ายุ่ง!” ซึ่งสะท้อนถึงทัศนคติหรือความเชื่อผิด ๆ ของสังคมที่มีมาช้านาน และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้คนคิดว่าปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัวที่ใคร ๆ ก็ไม่ควรไปยุ่ง

อย่างไรก็ดี ยังมีเด็ก ผู้หญิง รวมไปถึงผู้สูงอายุจำนวนมากที่ถูกกระทำความรุนแรงในพื้นที่ที่ควรจะมีความปลอดภัยที่สุดอย่าง “บ้าน” ด้วยการกระทำหรือคำพูดของคนใกล้ชิดที่สุดอย่าง “คนในครอบครัว” โดยถูกเพิกเฉยจากเพื่อนบ้าน คนในชุมชน หรือแม้แต่ญาติพี่น้อง เพียงเพราะ “ไม่อยากยุ่ง” ซึ่งทำให้เหยื่อของความรุนแรงไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที และบางรายได้รับอันตรายถึงชีวิต
.
ในเดือนเทศกาลวันแห่งความรัก สำนักงาน กสม. ชวนให้ #รู้ไว้ไม่เสียสิทธิ ว่าประเทศไทยมีกฎหมายที่คุ้มครองเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว คือ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ซึ่งให้ความคุ้มครองคู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภรรยา บุพการี ผู้สืบสันดาน บุตรบุญธรรม รวมทั้ง เด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ ที่อาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน โดยที่การกระทำโดยเจตนาให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพ การบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำให้กระทำ ไม่กระทำ หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ มีความผิดทางอาญา!
.
ที่สำคัญ กฎหมายยังบัญญัติให้เราทุกคนที่พบเห็นหรือทราบการกระทำความรุนแรงในความครัว รวมไปถึงตัวผู้ถูกกระทำความรุนแรงเอง มี “หน้าที่” ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้/ขอความช่วยเหลือ ทั้งนี้ ผู้แจ้งโดยสุจริต มีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง อาญา และปกครอง
.
ความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องไม่เพิกเฉย หากเป็นผู้ถูกกระทำหรือพบเห็นความรุนแรงในครอบครัว โปรดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยตรงและทันที เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ สายด่วน 191 หรือ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300
.
#เรื่องผัวเมียยุ่งได้ #รู้ไว้ไม่เสียสิทธิ
#สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของทุกคน
#NHRCT #กสม.

 

แชร์เลย :